3 วิธีเทรดด้วยทฤษฎี Elliott Wave
1.รอจบการพัก
2.ตั้งรับเมื่อย่อ
3.ไปต่อไม่รอแล้วนะ
.
รอจบการพัก
.
นั่นก็คือการสิ้นสุดของชุดคลื่น Corrective Wave นั่นเอง ไม่ว่าจะเป็น 3 คลื่น A-B-C คือ Zigzag และ Flat 5 คลื่นอย่าง Triangle หรือ Combination
.
การตัดสินชัดเจนว่าพักจบหรือยังมีเครื่องมือเช่นการ Break Out ออกจากช่องคู่ขนาน หรือ ออกจากระดับสูงสุดเดิม วิธีนี้ให้ความมั่นใจของการไปต่อของแนวโน้ม แต่ข้อเสียคือราคาสูงและ Stop Loss ลึกหน่อย
.
ตั้งรับเมื่อย่อ
.
ใครชอบการต่อราคา ให้มาตั้งรับเมื่อมีการพักตัว ย่อตัวจากจุดสูงสุดเดิม เทคนิคนี้ไม่รอสัญญาณการเบรคที่ชัดเจน ขอให้ราคาลงมาถึงจุดที่น่าจะเป็นแนวรับ เช่น คลื่น 2 มักย่อลงมาที่ 61.8% – 88.7% ของคลื่น 1 หรือ คลื่น 4 ย่อลงมาที่ 38.2%-50% ของคลื่น 3 เป็นต้น
.
ที่สำคัญอย่าลืมนับเวฟให้ครบชุดคลื่น Corrective เสียก่อน จะช่วยเสริมโอกาสไปต่อได้ ข้อดีคือ RR สูงความเสี่ยงต่ำ จุดตัดขาดทันขันแน่น เป้าหมายกำไร ถ้าไม่เฟคก็ไปได้ยาว ๆ อย่างไรก็ตามใช่ว่าเช็ค Fibo แล้วนับคลื่นย่อย 3 คลื่นแล้วจบชัวร์ ๆ ที่ว่าย่อลงมาแล้วอาจจะไม่ใช่ย่อ มันอาจเป็นการกลับตัวไปเลยก็ได้ หรือ การปรับนั้นยังไม่สุดยังออก Sideways ต่อเทรดเดอร์ที่ชอบต่อราคาบางทีก็ต้องทนอึดอัดถือไปก่อน
.
ไปต่อไม่รอแล้วนะ (กลางคลื่น 3)
.
โดยเฉพาะคลื่น 3 ของชุดคลื่นส่ง Impulse การสังเกตเวฟ 3 จะแม่นมากเมื่อมันจบไปแล้ว (555)ซึ่งไม่ค่อยจะมีประโยชน์เท่าใดในการเทรดเพื่อทำกำไร แต่ยังพอมีแสงสว่างที่ปลายอุโมงค์ การเกิดขึ้นของ Impulse คลื่น 3 มีข้อสังเกตดังนี้
.
– ราคาเบรคทะลุช่องคู่ขนานที่เอียงขึ้นเป็น Sideway Up (หรือ Sideway Down ถ้าเป็นขาลง)
– เกิดช่องเปิดกระโดดข้ามแนวต้าน/แนวรับ ที่สำคัญ (โดยเฉพาะหุ้น)
.
การเข้าตามน้ำนี้เป็นจังหวะวัดใจ เนื่องจากราคาปรับขึ้นมาพอสมควรแล้ว แต่เทรนด์นั้นได้เกิดขึ้นแล้ว และควรจะดำเนินต่อไป จึงมีโอกาสไปต่อสูง
.
ลองนำไปปรับใช้กันครับ
.
หมายเหตุ :
– ชาร์ตที่ยกตัวอย่าง 99% เป็นแนวโน้มขาขึ้น
– หลายชาร์ตมีการเลเบลเวฟ ที่อาจจะดูรกเพราะนำมาจากพื้นที่สมาชิก Elliott wave insider member ให้สังเกตเฉพาะ A-B-C ดีกรีหลัก ๆ
– จะโพสต์สองชาร์ตคู่กันคือ อันที่จบแล้ว กับตรงที่ตัดสินใจหน้างาน ยกเว้นบางชาร์ตที่เป้นปัจจุบัน
Leave A Comment